Thursday, October 22, 2020

2.3 การละลายของสารในน้ำ

การเตรียมแร่ทำได้โดยการนำผงเกลือแร่ซึ่งเป็นของแข็งมาละลายในน้ำผงเกลือแร่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเกลือแกง (NaCl) และกลูโคส (CH, 0, ซึ่งเกลือแกงเป็นสารประกอบไอออนิกส่วนกลูโคสเป็นสารโคเวเลนต์ที่มีสมบัติละลายน้ำได้ซึ่งการละลายของสารประกอบไอออนิกและสารโคเวเลนต์มีลักษณะบางประการแตกต่างกันการละลายของสารในน้ำเกิดขึ้นเมื่อโมเลกุลของน้ำเข้าไปแทรกระหว่างโมเลกุลหรือไอออนของตัวละลายใต้สารผสมที่เป็นสารเนื้อเดียวเรียกว่าสารละลายโดยการละลายของสารในน้ำมีลักษณะคือการละลายแบบแตกตัวและการละลายแบบไม่แตกตัว
2.3.1 การละลายแบบแตกตัว
เมื่อละลายเกลือแกง (NaCl) ในน้ำโมเลกุลของน้ำจะเข้าล้อมรอบและแยกโซเดียมไอออน (Nat) และคลอไรด์ไอออน (CI) ออกจากกันในน้ำเกลือจึงประกอบด้วยสารละลายโซเดียมไอออนและสารละลายคลอไรด์ไอออนเขียนแทนด้วย Na (aq) และ CI (aq) ซึ่งไอออนเหล่านี้สามารถเคลื่อนที่ได้เมื่อต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าไอออนบวกจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วลบและไอออนลบจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วบวกทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ส่งผลให้สารละลายสามารถนำไฟฟ้าเรียกสารละลายประเภทนี้ว่าสารละลายอิเล็กโทรไลต์ (electrolyte Solution) การละลายน้ำในลักษณะนี้เรียกว่าการละลายน้ำแบบแตกตัว
 นอกจากสารประกอบไอออนิกที่สามารถเกิดการละลายน้ำแบบแตกตัวแล้วสารโคเวเลนต์บางชนิดเช่นแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCI) เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (HF) และคลอไรด์ไอออน (CI) ได้สารละลายกรดไฮโดรคลอริกดังสมการเคมี การละลายน้ำแบบแตกตัวของสารบางชนิดอาจทำให้ได้สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรดหรือเบสซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
2.3.2 การละลายแบบไม่แตกตัว
สารโคเวเลนต์ที่ละลายน้ำได้ส่วนใหญ่เป็นสารโมเลกุลขนาดเล็กเช่นแก๊สออกซิเจนแก็สครอนหรือเป็นสารที่สามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนกับน้ำได้เช่นกลูโคสน้ำตาลทรายเอทานอลแอซีโตนสารเหล่านี้เกิดการละลายน้ำแบบไม่แตกตัวได้สารละลายที่ไม่นำไฟฟ้าเรียกว่าสารละลายนอนอิเล็กโทรไลต์ (non-electrolyte solution) การละลายน้ำของแก๊สออกซิเจนและเอทานอล

No comments:

Post a Comment