Thursday, October 22, 2020
แบบทดสอบเรื่อง วิตามินและเกลือแร่
1. เด็กในวัยเรียนต้องกินสารอาหารประเภทใดมาก
ก.
โปรตีน
ข คาร์โบไฮเดรต
ค.
ไขมัน
ง. เกลือแร่
2.คนในเมืองหนาวต้องกินอาหารที่มีไขมันมาก
ๆ เพราะอะไร
ก.
เสริมสร้างกล้ามเนื้อ
ข.
ให้ความอบอุ่น
ค.
ทำให้ผิวพรรณดี
ง.
ช่วยให้มีความต้านทานโรค
3.การรับประทานผักและผลไม้มาก
ๆ มีผลดีอย่างไร
ก.
ราคาถูก
ข.
นำมาปรุงอาหารได้ง่าย
ค.
เพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย
ง.
ทำให้ขับถ่ายอุจจาระสะดวก
4.ถ้าต้องการให้ร่างกายมีแรงในการทำงานควรกินอาหารในข้อใด
ก. ผลไม้
ข. ผักสด
ค. นมสด
ง. ข้าว
5.น้ำเต้าหู้
มีสารอาหารประเภทใดมาก
ก. วิตามิน
ข.
เกลือแร่
ค. โปรตีน
ง. ไขมัน
6.ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ให้สารอาหารใดมากที่สุด
ก. คาร์โบไฮเดรต
ข. เกลือแร่
ค. ไขมัน
ง. โปรตีน
7.ถ้านักเรียนไม่รับประทานโปรตีนเลย จะทำให้ร่างกายเป้นอย่างไร
ก.
ขาดวิตามินบี 1
ข.
ผอม ร่างกายไม่เจริญเติบโต
ค.
ผิวพรรณเหี่ยวย่น
ง.
โลหิตจาง
8.คนที่เป็นโรคคอหอยพอก
เนื่องจากขาดเกลือแร่ชนิดใด
ก. เหล็ก
ข. แคลเซียม
ค. ไอโอดีน
ง. โซเดียม
9.ถ้าเป็นแผลแล้วมีเลือดไหลไม่หยุดอาจเกิดจากการขาดวิตามินชนิดใด
ก. วิตามินเอ
ข. วิตามินดี
ค. วิตามินเค
ง. วิตามินอี
10.พืชในข้อใดให้สารอาหารแตกต่างจากข้ออื่น
ก. ถั่ว
ข. มันสำปะหลัง
ค. อ้อย
ง. ข้าวโพด
แบบทดสอบเรื่อง โปรตีน
1. กรดนิวคลีอิกอีกที่พบในเซลล์สิ่งมีชีวิตมีกี่ชนิด
แบบทดสอบเรื่อง ไขมันและน้ำมัน คาร์โบไฮเดรต
1. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของไขมัน ?
ก. ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ข. ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น
ค. ช่วยป้องกันการกระแทก
ง. ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน
2. การแยกเนื้อยางจากน้ำยางทำได้โดยวิธีใด ?
ก. การเติมกำมะถัน
ข. การเติมเบสบางชนิด
ค. การเติมกรดบางชนิด
ง. การเติมแอมโมเนียเข้มข้น
3. น้ำมันชนิดใดต่อไปนี้จะเกิดการเหม็นหืนได้ง่ายที่สุด ?
ก. น้ำมันมะพร้าว
ข. น้ำมันถั่วเหลือง
ค. น้ำมันรำข้าว
ง. น้ำมันดอกทานตะวัน
4. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สารชีวโมเลกุล ?
ก. แป้ง
ข. กรดซัลฟูริก
ค. กรดนิวคลีอิก
ง. เซลลูโลส
5. หน่วยย่อยของกรดนิวคลีอิกคืออะไร ?
ก. กรดอะมิโน
ข. กลูโคส
ค. นิวคลีโอไทด์
ง. กรดไขมัน
6. นิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอประกอบด้วยสารใดต่อไปนี้ ?
ก. น้ำตาลไรโบส N-เบส และหมู่ฟอสเฟต
ข. น้ำตาลกลูโคส N-เบส และหมู่ฟอสเฟต
ค. น้ำตาลดีออกซีไรโบส N-เบส และหมู่ฟอสเฟต
ง. น้ำตาลดีออกซีไรโบส N-เบส และไตรกลีเซอไรด์
7. พลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกายได้จากการสลายสารอาหารประเภทใดเป็นอันดับแรก ?
ก. ไขมัน
ข. คาร์โบไฮเดรต
ค. โปรตีน
ง. กรดนิวคลีอิก
8. คาร์โบไฮเดรตชนิดใดที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้โดยตรง ?
ก. น้ำตาลมอลโทส
ข. น้ำตาลซูโครส
ค. น้ำตาลกลูโคส
ง. ไกลโคเจน
9. บทบาทที่สำคัญของกรดนิวคลิอิกคืออะไร ?
ก. ช่วยในการเจริญเติบโต
ข. สลายให้พลังงาน
ค. ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ง. เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสมดุลของน้ำและกรด-เบส
10. น้ำมันและไขมันแตกต่างกันอย่างไร ?
ก. มีองค์ประกอบที่ต่างกัน
ข. มีโครงสร้างของกลีเซอรอลต่างกัน
ค. มีจำนวนของกรดไขมันไม่เท่ากัน
ง. มีสถานะที่อุณหภูมิห้องไม่เหมือนกัน
แบบทดสอบเรื่อง น้ำ
1. ในการปลูกป่า ควรปลูกป่าในบริเวณใดจึงจะช่วยในการกักเก็บน้ำได้มากที่สุด
ก. บริเวณพื้นที่ที่แห้งแล้ง
ข. บริเวณพื้นที่ต้นน้ำหรือบริเวณพื้นที่ภูเขา
ค. บริเวณป่าชายเลน
ง. ในเมืองหลวงหรือเกาะกลางถนน
2. ข้อใดให้ความหมายของ”มลพิษ”ได้ดีที่สุด
ก. ขยะอันตราย
ข. น้ำเน่าเสีย
ค. ของเสียที่มีกลิ่นเหม็น
ง. ของเสีย วัตถุอันตราย และมวลสารอื่นๆ
3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของมลพิษทางน้ำ
ก. น้ำที่มีสีผิดปกติ
ข. น้ำที่มีอุณหภูมิสูงผิดปกติ
ค. สิ่งมีชีวิตในน้ำเติบโตผิดปกติ
ง. น้ำมีกลิ่นเหม็น
4.เหตุใดน้ำจึงเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อมนุษย์
ก. ใช้อุปโภค
ข. ใช้บริโภค
ค. ใช้ในการเกษตร
ง. ถูกทุกข้อ
5. ปัญหาทางน้ำที่มีสาเหตุสำคัญมาจากน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเรียกว่า
ก. น้ำเน่าเสีย
ข. มลพิษอุตสาหกรรม
ค. มลพิษทางน้ำ
ง. มลพิษทางอากาศ
3.4 วิตามินและเกลือแร่
วิตามิน หรือ ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่สิ่งมีชีวิตต้องการในปริมาณเล็กน้อย[1] เรียกสารประกอบเคมีอินทรีย์ (หรือชุดสารประกอบที่สัมพันธ์กัน) ว่า วิตามิน ต่อเมื่อสิ่งมีชีวิตไม่สามารถสังเคราะห์สารนั้นได้ในปริมาณเพียงพอ และต้องได้รับจากอาหาร ฉะนั้น คำว่า "วิตามิน" จึงขึ้นอยู่กับทั้งสภาวะแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ ตัวอย่างเช่น กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) ถือเป็นวิตามินสำหรับมนุษย์ แต่ไม่ถือเป็นวิตามินสำหรับสัตว์อื่นส่วนใหญ่ การเสริมวิตามินสำคัญต่อการรักษาปัญหาสุขภาพบางอย่าง แต่มีหลักฐานประโยชน์การใช้ในผู้มีสุขภาพดีน้อย
ตามธรรมเนียม คำว่า วิตามิน ไม่รวมสารอาหารสำคัญอื่น เช่น แร่ธาตุ กรดไขมันจำเป็น หรือกรดอะมิโนจำเป็น (ซึ่งร่างกายต้องการสารเหล่านี้ในปริมาณมากกว่าวิตามินมาก) หรือสารอาหารอื่นอีกมากที่ส่งเสริมสุขภาพแต่ต้องการไม่บ่อย[2] ในปัจจุบัน ระดับสากลรับรองวิตามินอย่างสากลสิบสามชนิด วิตามินจำแนกโดยกัมมันตภาพทางชีวภาพและเคมี ไม่ใช่โครงสร้าง ฉะนั้น วิตามินแต่ละชนิดจึงหมายถึงสารประกอบวิตาเมอร์ (vitamer) ซึ่งล้วนแสดงกัมมันตภาพทางชีวภาพที่สัมพันธ์กับวิตามินหนึ่ง ๆ ชุดสารเคมีดังกล่าวจัดกลุ่มตามชื่อวิตามิน "ระบุทั่วไป" เรียงตามอันดับอักษร เช่น "วิตามินเอ" ซึงรวมสารประกอบเรตินัล เรตินอล และแคโรทีนอยด์ที่ทราบกันอีกสี่ชนิด วิตาเมอร์ตามนิยามสามารถเปลี่ยนเป็นรูปกัมมันต์ของวิตามินในร่างกายได้ และบางครั้งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตาเมอร์อีกชนิดหนึ่งได้เช่นกัน
วิตามินมีหน้าที่ทางชีวเคมีหลากหลาย วิตามินบางตัวมีหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเป็นตัวควบคุมเมแทบอลิซึมของแร่ธาตุ (เช่น วิตามินดี) บางตัวควบคุมการเจริญและการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะของเซลล์และเนื้อเยื่อ เช่น วิตามินเอบางรูป หน้าที่อื่นของวิตามิน เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (เช่น วิตามินอีและวิตามินซีในบางครั้ง) วิตามินจำนวนมากที่สุด วิตามินบีคอมเพล็กซ์ มีหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของโคแฟกเตอร์เอนไซม์ ซึ่งช่วยเอนไซม์ทำงานเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในเมแทบอลิซึม ในบทบาทนี้ วิตามินอาจสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเอนไซม์ที่เป็นส่วนหนึ่งของหมู่พรอสเธติก (prosthetic group) ตัวอย่างเช่น ไบโอตินเป็นส่วนของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกรดไขมัน วิตามินยังอาจสัมพันธ์ใกล้ชิดน้อยกว่ากับตัวเร่งปฏิกิริยาเอนไซม์ คือ โคเอนไซม์ ซึ่งเป็นโมเลกุลจับได้ซึ่งมีหน้าที่นำหมู่เคมีหรืออิเล็กตรอนระหว่างโมเลกุลต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น กรดโฟลิกอาจนำหมู่เมทิล ฟอร์มิล และเมทีลินในเซลล์ แม้ว่าบทบาทเหล่านี้ในการสนับสนุนปฏิกิริยาเอนไซม์-สารตั้งต้นจะเป็นหน้าที่ของวิตามินซึ่งทราบกันดีที่สุด ทว่า หน้าที่อื่นของวิตามินก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน[3]
เมื่อกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 มีเม็ดเสริมอาหารวิตามินบีคอมเพลกซ์ที่สกัดจากยีสต์และวิตามินซีกึ่งสังเคราะห์เชิงพาณิชย์วางขายเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้น วิตามินได้รับจากอาหารเพียงทางเดียว และปกติการเปลี่ยนอาหาร (ตัวอย่างเช่น ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างฤดูเพาะปลูกหนึ่ง ๆ) เปลี่ยนชนิดและปริมาณวิตามินที่ได้รับอย่างมาก ทว่า ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา มีการผลิตวิตามินเป็นสารเคมีโภคภัณฑ์และมีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสารปรุงแต่งวิตามินรวมทั้งกึ่งสังคราะห์และสังเคราะห์ราคาไม่แพงอย่างแพร่หลายมาก
เกลือแร่ (อังกฤษ: Dietary mineral) มีบทบาทและหน้าที่สำคัญใน ร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของ เซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาท[1] เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน นอกจากนี้ เกลือแร่ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะ จากความสำคัญและหน้าที่ ดังกล่าวนั้น จะเห็นว่า เกลือแร่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องได้ รับเพียงพอ ร่างกายจึงจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และแข็งแรง อาหารทั่วไปที่เป็นแหล่งของเกลือแร่ทั้งชนิดหลักและชนิดปริมาณน้อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหาร ตัวอย่าง เกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง และโพแทสเซียม
ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีดังต่อไปนี้
- แคลเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และหัวใจ เป็นธาตุที่จำเป็นในการแข็งตัวของเลือด มีอยู่มากในนม และเนื้อสัตว์ประเภทที่กินได้ทั้งกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และทารกที่กำลังเจริญเติบโตไปจนถึงวัยรุ่นควรกินแคลเซียมมากกว่าปกติซึ่งจะทำให้ร่างกายเติบโตและแข็งแรง
- เหล็ก เป็นตัวนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงในส่วนที่เรียกว่า ฮีโมโกลบินซึ่งเป็นตัวพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และพาคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอดเพื่อขับถ่ายออกในรูปการหายใจ ในประเทศร้อน เมื่อเหงื่อออกมาก อาจมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปกับเหงื่อได้ อาหารที่มีเหล็กมากได้แก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ด ผักใบเขียวบางชนิด
- ไอโอดีน ส่วนใหญ่ไอโอดีนจะอยู่ในต่อมไทรอยด์ ซึ่งอยู่ที่คอส่วนล่าง ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอกซิน ถ้าหากร่างกายมีการขาดไอโอดีนตั้งแต่เด็ก จะทำให้เป็นโรคเอ๋อ ร่างกายแคระแกร็น และเป็นโรคคอพอก อาหารที่มีไอโอดีนได้แก่ อาหารทะเล และเกลืออนามัย วัยรุ่น หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตรต้องการไอโอดีนสูง
- แมกนีเซียม มีมากในอาหารหลายชนิด เช่น ถั่ว ข้าวแดง ข้าววีท ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ผักใบเขียว(หากหุงต้มนานเกินไปจะทำให้แมกนีเซียมหลุดออกไปหมด) แมกนีเซียมมีประโยชน์ดังนี้
- ทำงานร่วมกับแคลเซียม หากร่างกายขาดแมกนีเซียม ฟันจะไม่แข็งแรง
- การที่ร่างกายมีแมกนีเซียมต่ำ จะทำให้ความดันโลหิตสูง และเป็นโรคหัวใจ
- ผู้ใหญ่จะต้องการแมกนีเซียมประมาณ 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน
- ซีลีเนียม เป็นธาตุที่มีสมบัติเหมือนกำมะถัน ร่างกายต้องการซีลีเนียมน้อยมาก หากได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตราย อาหารที่มีซีลีเนียมมาก ได้แก่ ข้าวสาลี ตับ ไต ปลาทูน่า ประโยชน์ของซีลีเนียมมีดังนี้
- สังกะสี เป็นธาตุที่เราต้องรับเป็นประจำในปริมาณที่น้อยมาก เพราะถ้ามากเกินไปก็จะก่อให้เกิดอันตราย อาหารที่มีสังกะสีมาก ได้แก่ ตับ ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่ว หอยนางรม ประโยชน์ของสังกะสีมีดังนี้
- หากกินอาหารที่มีสังกะสีในปริมาณต่ำมาก จะทำให้เจริญเติบโตช้า ขนร่วง
- มีความสำคัญในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน
- เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์อินซูลิน ซึ่งช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลที่เรากินเข้าไป ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร่างกายจะมีสังกะสีต่ำกว่าคนปกติ
- หากขาดจะเป็นโรคตาบอดสี (เรตินาในตาของคนจะมีสังกะสีอยู่ในปริมาณสูง)
- ช่วยเพิ่มให้รู้สึกว่าอาหารหวานยิ่งขึ้น ทำให้คนกินหวานน้อยลง
- บำรุงรักษาผิวหนัง และสิวฝ้า
-
1. เด็กในวัยเรียนต้องกินสารอาหารประเภทใดมาก ก . โปรตีน ข คาร์โบไฮเดรต ค . ไขมัน ...
-
1. กรดนิวคลีอิกอีกที่พบในเซลล์สิ่งมีชีวิตมีกี่ชนิด 1. 1 ชนิด 2. 2 ชนิด 3. 3 ชนิด 4. 4 ชนิด 2. นิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอประกอบด้วยสารใดต่อไปน...
-
1. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของไขมัน ? ก. ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ข. ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ค. ช่วยป้องกันการกระแทก ง. ช่วยป้องกันการสูญเสียคว...